เพตรา มหานครศิลาทรายสีชมพู

เพตรา มหานครศิลาทรายสีชมพู ที่ซ่อนความยิ่งใหญ่ตระการตาของมหาวิหารปราสาททรายสีชมพู เอล คาซเนห์ มานับพันปี

เพตรา มหานครศิลาทรายสีชมพู
เพตรา มหานครศิลาทรายสีชมพู ที่ซ่อนความยิ่งใหญ่ตระการตาของมหาวิหารปราสาททรายสีชมพู เอล คาซเนห์ มานับพันปี

เพตรา มหานครศิลาทรายสีชมพู
เมืองมรดกโลก ที่แกะสลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก ที่น่าตื่นตาตื่นใจกับการขี่ม้าลัดเลาะไปตามหุบเขาและเดินเท้าเข้าสู่รอยแยก ของเปลือกโลก (Siq) ที่ซ่อนความยิ่งใหญ่ตระการตาของมหาวิหารปราสาททรายสีชมพู เอล คาซเนห์ มานับพันปี ที่นี่เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “อินเดียน่า โจนส์” ภาค 3 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้านครนี้แต่เดิมนั้นเป็นนครแห่งการค้าขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาถูกละทิ้งเป็นเวลานานกว่า 700 ปี จนเมื่อมีนักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท เดินทางผ่านมาพบเห็นเข้าเมื่อปี พ.ศ. 2355

   นครเพตราได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า "เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ"  ปัจจุบันสามารถเดินทางเข้าไปโดยอาศัยม้าเท่านั้น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นครเพตราได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก

โดยชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เพตราคือพวกเอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมืองเพตราขึ้นมานั้นคือชาวนาบาเทียน ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ คนกลุ่มนี้สกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำทีมีอยู่ทั่วเมือง พวกเขามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน คนเผ่านี้มีความซื่อสัตย์ ค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจรก็ช่วยให้พวก นาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น

 สมัยโบราณเพตรานับเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่เพตราตั้งอยู่เส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของโลก คือเส้นทางสายสายตะวันออก - สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสายสายเหนือ - ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัส ซีเรีย นอกจากนั้นเมืองนี้ยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นน้ำที่ได้เมื่อโมเสสเสกออกมาเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันว่างเปล่าและแห้งแล้งใกล้เคียงนั้นไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเพตราอย่างเดียว

ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเพตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก ยางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเพตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย

เพตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เพตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั้งคั้ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันเหมาะแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากพายนอก
 
การล่มสลายด้วยเหตุที่เกิดเมืองใหม่และเส้นทางค้าขายใหม่ที่ปลอดภัยและสะดวกกว่าในช่วงเวลาต่อมา เพตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง เมืองอ่อนแอและถูกต่างชาติโจมตีเข้าได้ง่าย จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 649 (ค.ศ. 106) พวกโรมันนำโดยจักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส ได้เข้ายึดครองเพตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นจังหวัดในจักรวรรดิโรมัน แต่เพตราก็ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาจนถึงราวปี ค.ศ. 300 เมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มคลอนแคลน ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 906 (ค.ศ. 363) แผ่นดินไหวก็ได้ทำลายอาคารและระบบชลประทานที่ถือว่าดีมากของเมืองลง

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เพตรา กลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนามณฑลของบิชอป แล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน  # ทัวร์จอร์แดน

ที่มาข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/เปตรา

ขอบคุณภาพ: https://www.planetworldwide.com