สัมผัสความมหัศจรรย์ประติมากรรมจากภูผาหิน ถ้ำอชันต้า

ถ้ำอชันต้า เป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ.350 โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร   ในปี พ.ศ.2527 ถ้ำอชันต้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้

สัมผัสความมหัศจรรย์ประติมากรรมจากภูผาหิน ถ้ำอชันต้า

ถ้ำอชันต้า ตั้งอยู่ในเมืองเอารังคาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ได้ชื่อเป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ.350 โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร   


ถ้ำอชันต้า ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน องค์เจดีย์ พระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เล่าเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดก ซึ่งถ้ำเหล่านี้ซุกซ่อนตัวอยู่ที่นี่มานานถึงกว่า 1,500 ปี โดยไม่ถูกรุกล้ำจากผู้คนทั้งหลาย นับตั้งแต่จากวันที่ถูกทอดทิ้งให้รกร้างตลอดมา จนมาถูกค้นพบอีกครั้งโดยบังเอิญในปี พ.ศ.2362 โดยทหารอังกฤษที่มาล่าสัตว์ ลักษณะของหมู่วัดถ้ำอชันต้า นั้นพบว่ามีถ้ำมากกว่า 30 ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตร บนเชิงเขาสูง ลักษณะเป็นวงโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว บริเวณหน้าถ้ำแต่ละแห่งสร้างเป็นบันไดทอดยาวลงไปยังแม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลดเลี้ยวไปตามหุบเขาเบื้องล่าง แม่น้ำสายนี้คือ "แม่น้ำวโฆระ" ซึ่งจะมีระดับน้ำขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน

หมู่ถ้ำอชันต้าเป็นถ้ำพุทธศาสนาล้วนๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นสายหีนยาน (เถรวาท) พุทธศาสนาที่ไปสู่เมืองไทย มีอยู่ 6 ถ้ำคือ ถ้ำที่ 8,9,10,12,13 และ 15 ซึ่งเป็นหมู่ถ้ำที่เก่าแก่ที่สุด ประมาณ พ.ศ.400-600 ส่วนที่เหลือจากนั้น อีก 24 ถ้ำเป็นสายมหายาน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่าง ถ้ำหีนยานกับถ้ำมหายาน ก็คือ ในพุทธศาสนาเถรวาทยุคแรกนั้นไม่มีพระพุทธรูป มีแต่พระสถูป ต่อมาตอนหลังๆ ก็มีพระพุทธรูปชัดเจนขึ้น

ในปี พ.ศ.2527 ถ้ำอชันต้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก้ และเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญกับพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า